วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




ลักษณะของคำสุภาพ

            


            วิเชียร  เกษประทุม  (ม.ป.ป. : ๘๕)  กล่าวถึงลักษณะของคำสุภาพไว้ว่า  ถ้อยคำต่างๆที่เราพูดจากันอยู่โดยทั่วไปนั้น  บางคำก็มิควรจะกราบบังคมทูล  บางคำก็ควร  ถ้าหากคำใดมิควรเราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเสียให้เหมาะสมการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่าง ๆ  ให้เหมาะสมนี่แหละเราเรียกว่า  “คำสุภาพ”  คำสุภาพเป็นส่วนหนึ่งของราชาศัพท์  ซึ่งมีลักษณะที่ควรสังเกตดังต่อไปนี้   

              ๑.  ไม่ควรใช้คำอุทานที่ไม่สุภาพ  เช่น  โว้ย  เว้ย  หรือคำสาบานที่หยาบคาย  เช่น 

ให้ตายห่า  ให้ฉิบหาย  หรือพูดกระชากเสียง  เช่น  เปล่า  ไม่ใช่  เป็นต้น

              ๒.  ไม่ควรใช้คำที่ถือว่าหยาบคาย  คือ

                   ก.  คำว่า  ไอ้”  ควรใช้  สิ่ง  แทน  เช่น  ไอ้นี่”  “ไอ้นั่น”  ควรเป็นสิ่งนี้สิ่งนั้น หรือตัดคำว่า  ไอ้”  ทิ้งเสียเลย  เช่น  ปลาไอ้บ้า  เป็นปลาบ้า

                   ข.  คำว่า  อี”  ควรใช้คำว่า  นาง”  เช่น  อีเห็น  เป็นนางเห็น  อีเลิ้ง  เป็นนางเลิ้ง

                   ค.  คำว่า  ขี้”  ควรใช้คำว่า  อุจจาระ”  หรือ  คูถ”  แทนหรือบางที่ตัดออกเสียเลยก็ได้  เช่น  ดอกขี้เหล็ก  เป็นดอกเหล็ก  หรือเปลี่ยนเสียก็ได้  เช่น  ขี้มูก  เป็นน้ำมูก,  ขนมขี้หนู เป็นขนมทราย

                   ง.  คำว่า  เยี่ยว  ควรใช้คำว่า  ปัสสาวะ  หรือ  “มูตร”  แทน

              ๓.  ไม่ควรใช้คำที่มีความหมายไปในทางที่หยาบ  คำที่นิยมเปรียบเทียบกับของอันไม่บังควรก็เปลี่ยนเสีย  เช่น  ปลาช่อน  ปลาสลิด  สากกะเบือ  เป็นต้น

              ๔.  ไม่ควรใช้คำผวน  หรือคำใดก็ตามเมื่อผวนหางเสียงหรือท้ายคำกลับมาไว้ข้างหน้าแล้ว  คำนั้นจะกลับเป็นคำที่ไม่สุภาพทันที  เช่น  คุณหมอจ๋า  ผวนเป็น  คุณหมาจ๋อ  ผักบุ้ง  ผวนเป็น  พุ่งบัก  เป็นต้น  คำพูดที่ผวนกลับแล้วฟังเป็นคำหยาบนี้ควรเว้นเสีย  คำในภาษาไทยมีอยู่มากควรเปลี่ยนใช้ให้เหมาะสม  เช่น  ตากแดด  ควรใช้  ผึ่งแดด  ถั่วงอก  ควรใช้  ถั่วเพาะ  เป็นต้น

              ๖.  เป็นคำยืมจากภาษาบาลี  สันสกฤต  และเขมร 

                    คำบาลี  เช่น  สุกร  กุฏิ  อาพาธ  อุจจาระ  เป็นต้น

                    คำสันสกฤต  เช่น  ศีรษะ  ภรรยา   ครรภ์  กรรม  เป็นต้น

                    คำเขมร  เช่น  ถวาย  เป็นต้น

              ในเรื่อง  คำหยาบและคำสุภาพ  นั้น  ม.ล.ปีย์  มาลากุล  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  “การใช้ถ้อยคำและราชาศัพท์”  ว่าเมื่อกล่าวถึง   คำหยาบ”  และ  คำสุภาพ”  นั้น  ความหมายที่แท้จริงของ  คำหยาบ”  หาใช่หมายถึงเฉพาะคำโลนหรือคำที่ใช้ในการกล่าวผรุสวาทเท่านั้นไม่  ที่ถูกแล้วน่าจะเรียกว่า  คำสามัญ”  และ  คำวิสามัญ”  มากกว่า  เช่น  คำว่า  มือ  ตีน  กิน  เดิน นอน  ก็ไม่น่าจะเป็นคำหยาบอะไร  แต่นำคำเหล่านี้ไปใช้พูดกับคนที่อาวุโสกว่าคำเหล่านั้นถือว่าเป็น คำหยาบ”  ต้องเปลี่ยนใช้คำอื่น  เช่น  จะพูดว่า  ตีน”  ก็ต้องเปลี่ยนเป็น  เท้า”  เป็นต้น 

(ปรีชา  นันตาภิวัฒน์.  ม.ป.ป. : ๖๗)

 

           


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น