วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ปรีชา ทิชินพงศ์ (๒๕๒๓ : ๑๗๕-๑๗๖) ได้กล่าวถึงสาเหตุของการใช้คำสุภาพว่า ชาติไทยเป็นชาติที่ได้ชื่อว่ามีวัฒนธรรมที่ดีงามมาแต่โบราณกาล ไม่ว่ายุคใดสมัยใดเราไม่ละลาบละล้วงต่อบุคคลที่ควรเคารพ เช่น เมื่อจะกราบบังคมทูล พูดกับพระภิกษุ พูดกับผู้บังคับบัญชา บิดา มารดา ครูอาจารย์ หรือผู้มีวัยอาวุโสต่าง ๆ ก็ดี เราจะใช้ถ้อยคำแตกต่างกันออกไปตามสภาพทางสังคมของบุคคลนั้น ๆ เป็นสำคัญ ในสมัยก่อนนั้นมีการใช้คำราชาศัพท์เมื่อจะกราบบังคมทูลหรือกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ เท่านั้น ต่อมาเมื่อมีการคลี่คลายของภาษา และความเจริญงอกงามของวัฒนธรรมมากขึ้นจึงมีการปรับเปลี่ยนคำราชาศัพท์เป็นคำพูดที่นุ่มนวล ไพเราะ และสามารถใช้พูดกับบุคคลสามัญชนทั่วไปได้อย่างสุภาพ ชวนฟัง และการใช้ภาษาหรือคำพูดที่สุภาพนี้ยังเป็นการแสดงออกถึงการได้รับการอบรมสั่งสอนที่ดีด้วย นอกจากคำสุภาพจะใช้เป็นภาษาพูดสำหรับบุคคลทั่วไปแล้วคำสุภาพยังใช้ในภาษาเขียนเพื่อให้เกิดความงดงามทางด้านวรรณศิลป์อีกด้วย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น